Categories
Sport

แข่งแบบลีกดีกว่าน็อคเอ้าท์ ?

ไทยแลนด์อเมเจอร์ลีก แข่งแบบลีกดีกว่าน็อคเอ้าท์ ?

รูปแบบการแข่งขันฟุตบอลอเมเจอร์ลีก ไทยแลนด์อเมเจอร์ลีก หรือทัวร์นาเมนต์สมัครเล่นเพื่อค้นหาทีมขึ้นไปเล่นในลีกอาชีพในระดับไทยลีก 3 ในยุคของสมาคมชุดนี้ได้ตัดทอนที่จะต้องเล่น ถ้วย ง และ ค ออก แล้วเลือกใช้วิธีแข่งทัวร์นาเมนต์เดียวและรู้ผล ซึ่งมันมีแง่ดีตรงที่ใครอยากจะส่งทีมเพื่อเล่นลีกอาชีพ ก็จะใช้เวลาอย่างน้อยที่สุดแค่ 1 ปี แต่ในแง่ของข้อเสียหากพลาดแพ้ขึ้นมา ก็จะต้องรอเล่นใหม่อีกครั้งปีหน้า

รูปแบบการแข่งขันแบบเดิม กับ ปัจจุบัน

      จากที่เท้าความไว้ในข้างต้น ไทยแลนด์อเมเจอร์ลีกก่อนจะที่นายกสมยศจะเข้ามา ระบบฟุตบอลสมัครเล่นจะต้องไต่เต้าจากถ้วย ง ค และ ข ฉะนั้นหากใครต้องการสร้างทีมเพื่อส่งแข่งลีกอาชีพ จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยที่สุด 3 ปี และทีมที่จะขึ้นมาสู่ลีกอาชีพก็มีเพียงแค่ 2 ทีม ต่อฤดูกาลเท่านั้น ทำให้สมาคมฟุตบอลชุดนี้ ได้จัดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเล็กน้อย คือ เพิ่มโควตาทีมที่จะขึ้นมาสู่ลีกอาชีพเป็น 12 ทีม หรือ 2 ทีมต่อโซน

จากทั้งหมด 6 โซน นั่นจึงทำให้อดีตทีมที่เคยโลดแล่นอยู่ในดิวิชั่น 2 เดิม กับกลุ่มทีมสมัครเล่นหน้าใหม่ ต่างพร้อมใจกันมุ่งมั่นเพื่อจะลงแข่งในรายการนี้ เพราะการไปเล่นลีกอาชีพขอเพียงเป็น 2 สุดยอดทีมในภูมิภาคนั้นๆก็พอ แต่จากปัญหาที่เกิดขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา ทีมเต็ง ทีมที่มีความพร้อมจะขึ้นไปสู่ลีกอาชีพ ดันพ่ายแพ้และตกรอบไปเสียก่อน กลับกันทีมที่เป็นม้ามืด หรือแค่มาร่วมแข่งขันเพื่อเอาประสบการณ์ กลับประสบความสำเร็จและได้สิทธิ์ขึ้นไปเล่นไทยลีก 3 กระนั้นปัญหาของพวกเขา คือ ไม่มีความพร้อมทางทุนทรัพย์และการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ

เปลี่ยนจากทัวร์นาเมนต์ เป็นมินิลีก ?         

แนวทางที่สมาคมฟุตบอลวางไว้และจะเริ่มพูดคุยอย่างจริงจัง คือ การปรับทัวร์นเมนต์ ไทยแลนด์อเมเจอร์ลีกแบบแพ้คัดออก มาเป็นมินิลีกตามโซนภูมิภาค ซึ่งหากทีมเยอะกว่าจำนวนที่ตั้งไว้ ก็อาจจะมีการเตะคัดออกก่อนเข้าสู่รอบมินิลีก โดยผลที่จะได้ คือ ได้ทีมที่เก่งและพร้อมจริงๆสำหรับการไปลุยไทยลีก 3 อีกทั้งทีมดวงแข็งหรือม้ามืดก็จะหายไป

และแน่นอนว่าทีมระดับตำนานที่เคยอยู่ในดิวิชั่น 2 ก็จะมีโอกาสได้กลับไปมากขึ้น หากเตรียมตัวดีและมีขนาดทีมที่ใหญ่พอ แต่ท้ายที่สุดก็ต้องไม่ลืมว่าการแข่งแบบมินิลีกย่อมใช้เงินมากกว่า ซึ่งตรงนี้จะส่งผลต่อการเข้าร่วมการแข่งขันของทีมต่างๆหรือไม่ หรือสมาคมจะสนับสนุนงบประมาณได้หรือไม่ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องไปตกลงกัน 

ติดตามความ Sport ในทุกสัปดาห์ได้ที่ tarutaofc.com

FB : Sport lover

Categories
Sport

ระบบไทยๆ กับฟุตบอลไทย

ระบบไทยๆ ทำร้ายฟุตบอลไทย

นับตั้งแต่ช่วงโควิด-19 เป็นต้นมา การทำงานของสมาคมฟุตบอลเหมือนกราฟที่พุ่งลงต่ำอย่างเดียว ดังจะเห็นจะได้จากการทำงานในหลายๆส่วนที่ดูจะเป็นการประสานงา มากกว่าจะเป็นประสานงาน และเรื่องที่ดูจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด คงหนีไม่พ้นการกำหนดเป้าหมายจากภาครัฐ ที่ส่งตรงมาถึงสมาคมฟุตบอลว่า ทีมชาติไทย ในมหกรรมกีฬาซีเกมส์ที่กัมพูชา ต้องคว้าเหรียญทองให้ได้ แล้วถ้าหากทำได้ต้องมีคนรับผิดชอบ ซึ่งหากฟังและตีความ นี่ถือเป็นความคิดที่ล้าหลังและกำลังทำลายโครงสร้างฟุตบอลอาชีพเข้าอย่างจัง    

เป้าหมายของรัฐ และคำสั่งตรงจากประธานโอลิมปิก

      เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่ก่อนจะเริ่มมหกรรมกีฬาใดๆก็ตาม ก็จะต้องมีการประชุมและวางเป้าหมายก่อนไปทำการแข่งขัน แต่ที่เห็นว่าไม่ปกติ คือ ภาครัฐได้เอาผลงานมาเป็นตัวชี้วัดต่อการให้งบประมาณสนับสนุนในปีต่อไป นั่นจึงกลายเป็นการบีบบังคับว่าถ้าสมาคมฟุตบอลไม่สามารถทำ ทีมชาติไทย ให้คว้าเหรียญทองได้ งบประมาณที่จะได้ก็จะถูกตัด อีกทั้งการกล่าวของรองนายกรัฐมนตรีและประธานโอลิมปิกอย่าง พอเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่าหากไม่ได้เหรียญทองกลับมา จะต้องมีคนรับผิดชอบ มันก็ยิ่งทำให้นายกสมาคมและผู้เกี่ยวข้อง ต้องพยายามจัดทีมที่พร้อมที่สุดไปลงแข่งขัน  

ฟุตบอลอาชีพ กับทัวร์นาเมนต์สมัครเล่น

      ด้วยการกล่าวที่ปราศจากวิสัยทัศน์ มันจึงกลายเป็นการทำลายโครงของฟุตบอล เพราะในปัจจุบันนี้ฟุตบอลไทยเป็นลีกอาชีพและมีช่วงเวลาของการปล่อยตัวมาเล่นตามปฏิทินฟ่าเดย์ แต่สำหรับทัวร์นาเมนต์ซีเกมส์ มันเป็นเพียงรายการสมัครเล่นที่แข่งขันกันเองภายในอาเซียนและไม่มีผลอะไรหากคว้าเหรียญทองมาได้ ฉะนั้นหากจะหยุดลีกเหมือนที่เคยมาก่อนหน้านี้ มันก็คงต้องกล่าวว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่มีวิสัยทัศน์ของการพัฒนาวงการฟุตบอลไทย 

สิ่งที่ควรจะเป็นสำหรับฟุตบอลไทย และ ทีมชาติไทย

      สิ่งที่ควรจะเป็นและจะมีผลต่อวงการกีฬา ที่ไม่เฉพาะแค่กีฬาฟุตบอล คือ ภาครัฐควรลงรายละเอียดก่อนจะกำหนดเป้าหมาย มิใช่กำหนดแบบโต้งๆว่าต้องการเหรียญทองเท่านั้นเท่านี้ ส่วนฟุตบอลทีมชาติไทย แน่นอนว่าทัวร์นาเมนต์แบบนี้ควรเป็นเวทีสำหรับเด็กที่สโมสรพร้อมจะปล่อยมาเล่นทีมชาติ หรือกำหนดชุดที่จะไปทำการแข่งขัน เช่น ชุดยู 21 ยู 19 อย่างไรก็ว่าไป เพื่อเป็นการเตรียมตัวสำหรับการเล่นในทัวร์นาเมนต์ใหญ่และเป็นอนาคตให้กับทีมชาติชุดใหญ่ มิใช่หยุดลีกแรมเดือนเพื่อเอานักเตะชุดใหญ่ไปเล่นแบบที่ทำมา เพราะผลลัพธ์ในท้ายที่สุดเราจะไม่ก้าวข้ามอาเซียนและฟุตบอลโลกจะเป็นแค่ฝันไปจนวันตาย

ติดตามความ Sport ในทุกสัปดาห์ได้ที่ tarutaofc.com

FB : Sport lover

Categories
Sport

“ชัยชนะเหนือบัลลังก์ ที่ผู้คนสาปแช่ง”

บทสรุปของ อีสาน ยูไนเต็ด “ชัยชนะเหนือบัลลังก์ ที่ผู้คนสาปแช่ง”

ข่าวใหญ่ของวงการฟุตบอลไทยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ คงไม่มีข่าวไหนจะแรงไปกว่าการตัดสินของศาลสูงสุด ต่อเรื่องสิทธิ์การทำทีมระหว่าง ศรีสะเกษ เอฟซี กับ อีสาน ยูไนเต็ด ซึ่งสุดท้ายแล้วตัดสินให้ อีสาน ยูไนเต็ด เป็นฝ่ายชนะคดี ทำให้นับจากนี้ต้องคืนสิทธิ์ทำทีม มีการชดเชยค่าเสียหายราว 18 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย

นั่นจึงเท่ากับเป็นการปิดฉากความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวงที่มีมานานเกือบ 1 ทศวรรษ อีกทั้งมันเป็นการปิดตำนานทีมระดับตำนานที่มีแฟนบอลเหนียวแน่นอย่าง ศรีสะเกษ เอฟซี ลงไปด้วย โดยในบทความนี้จะมาสรุปและกล่าวถึงตัวแปรที่ชี้ชัดผลแพ้ชนะในคดีนี้ให้กระจ่าง

      ย้อนกลับไปในปี 2009 หลังจากสมาคมฟุตบอลได้กำหนดนโยบาย 1 สโมสร 1 จังหวัด เพื่อสร้างลีกระดับภูมิภาคขึ้นมา ก็ได้มีการกำหนดเพิ่มเติมเพื่อผลักดันให้สโมสรฟุตบอลมีความเป็นมืออาชีพ ด้วยการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งสโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ เอฟซี ได้จดทะเบียนในชื่อ “บริษัท สโมสรฟุตบอลศรีสะเกษ จำกัด” โดยมีหุ้นส่วน 3 คน ได้แก่ ธเนศ เครือรัตน์ (ประธานสโมสร), สรศาสตร์ ศรีธัญรัตน์ (ผู้จัดการทีม) และ สมบัติ เกียรติสุรนนท์ (ฝ่ายสิทธิประโยชน์)

      กระทั่งในปี 2012 ปัญหาได้เกิดขึ้นเมื่อ สรศาสตร์ ศรีธัญรัตน์ (ผู้จัดการทีม) และ สมบัติ เกียรติสุรนนท์ (ฝ่ายสิทธิประโยชน์) มีความพยายามจะโยกย้ายทีมไปอยู่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งไม่มิอาจทราบได้ว่าเป็นเพราะเหตุใด แต่หากว่ากันตามเอกสารแล้วสามารถทำได้ เพราะความประสงค์ 2 ใน 3 ของถือหุ้น อีกทั้งในนามของบริษัทก็สามารถโยกย้ายไปที่ไหนก็ได้ กระนั้นในแง่มุมของแฟนบอล ย่อมเสียความรู้สึกและเสมือนถูกพรากของรักไป

ทำให้กระแสต่อต้านจากแฟนบอลกูปรีเกิดขึ้นและสาปส่งความโกรธแค้นไปยัง 2 ผู้บริหาร ที่หักหาญน้ำใจกันแบบนี้ ส่วนทางฝั่ง ธเนศ เครือรัตน์ (ประธานสโมสร) ได้รับแรงสนับสนุนจากแฟนบอลมีอย่างเต็มเปี่ยม จากนั้นในปี 2013 สมาคมได้แต่งตั้ง ถิรชัย วุฒิธรรม ขึ้นมาเป็นกรรมการพิเศษ แล้วได้ตัดสินให้สิทธิ์การทำทีมกลับไปอยู่ในมือ ศรีสะเกษ พร้อมกับความดีใจของแฟนบอลกูปรี แต่อย่างไรเสียเรื่องราวมันไม่จบ เพราะ อีสาน ยูไนเต็ด ได้ยื่นเรื่องฟ้องศาลเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม    

การตัดสินในชั้นศาลเมื่อปี 2016 อีสาน ยูไนเต็ด เป็นฝ่ายชนะคดี แต่ทางฝั่ง ธเนศ เครือรัตน์ ไม่ยอมแพ้ จึงทำได้ทำการยื่นอุทธรณ์ กระทั่งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดในคดีนี้ด้วยการยืนตามคำพิพากษาเดิม นั่นจึงทำให้สิทธิ์และการชดเชยต้องกลับไปอยู่ในมือของ อีสาน ยูไนเต็ด ซึ่งถ้าหากว่ากันตามประมวลกฎหมาย คนเสียงข้างมากมีความได้เปรียบ แต่ในแง่ของอารมณ์และความรู้สึกของแฟนบอล ย่อมเสียใจและสาปส่งถึง 2 ผู้บริหารที่พรากทีมไปจากถิ่นศรีนครลำดวน

ส่วนหลังจากนี้ อีสาน ยูไนเต็ด จะได้ลงเล่น T1 (ตามสิทธิ์ที่ถูกริบไป) หรือ T3 (สิทธิ์ในปัจจุบัน) ก็คงต้องขึ้นกับการตีความจากฝ่ายกฎหมายของสมาคมฟุตบอล ซึ่งหากการตีความออกว่าต้องเล่น T1 ก็คงเป็นอะไรที่วุ่นวายมิใช่น้อย สุดท้ายสำหรับแฟนบอลทั่วๆไป ศรีสะเกษ อาจไม่ใช่ทีมชั้นนำของประเทศ แต่ในแง่ของปรากฏการณ์กองทัพสีส้มที่แน่นขนัดทุกครั้งยามออกไปเยือน จะเป็นสิ่งที่ติดตาพวกเราตลอดไป

ติดตามความ Sport ในทุกสัปดาห์ได้ที่ tarutaofc.com

FB : Sport lover