Categories
Sport

สรุปบทสัมภาษณ์บอสปวิณ ครั้งที่ 2 ปี 2023 (ตอนที่3)

สัมภาษณ์บอสปวิณ ประเด็นลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลไทย

สัมภาษณ์บอสปวิณ ราว 1 ชั่วโมงเศษ ในช่วงท้ายของรายการ ได้มีการพูดถึงประเด็นลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลไทย ที่ในตอนนี้กำลังเป็นปัญหาใหญ่และไม่มีทางออกที่ชัดเจน ซึ่งการเป็นทีมใหญ่ของ บีจี ปทุม จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นกระบอกเสียงแก่เพื่อนสมาชิก ส่วนเรื่องปิดท้ายของการสัมภาษณ์ครั้งนี้ ได้พูดถึงการนำ Rabbit girl กลับมาสร้างสีสันในสนามอีกครั้ง

ลิขสิทธิ์บอลไทย

วันที่มีการเรียกทั้ง 16 ทีม จากไทยลีก 1 เข้าประชุมเรื่องลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอล ซึ่ง 3 ทีมยักษ์ใหญ่เป็นหัวโต๊ะ คือ การท่าเรือ บุรีรัมย์ และ บีจี ปทุม ที่ได้กล่าวในทางเดียวกันว่าไม่มีปัญหา ไม่ว่าทางออกจะจบด้วยการแยกตัวจากสมาคม เพื่อไปตั้งบริษัทบริหารกันเอง, การให้ 16 ทีม เป็นส่วนหนึ่งของหุ้นส่วนบริหารสมาคม หรือยอมรับเงื่อนไขจากผู้ที่ประมูลมา 50 ล้านบาท โดยบอสปวิณ ได้มีการกล่าวว่าทาง บีจี ปทุม ก็ได้นำประเด็นเหล่านี้กลับมาศึกษาถึงข้อดี-ข้อเสีย เพื่อนำไปแสดงความเห็นในการประชุมครั้งต่อไป แต่หากเป็นความคิดของบอสปวิณ เพียงคนเดียว ก็มองว่าทั้ง 16 ทีม จะต้องจับมือกันไว้ให้แน่นและนำความเป็นกลุ่มก้อนไปขายลิขสิทธิ์ ซึ่งมันจะเป็นการช่วยทีมขนาดเล็ก ให้มีกำลังพอที่จะสู้ทีมใหญ่ เพราะหากปล่อยให้ต่างคนต่างทำ ต่างไปออกไปหาช่องทางถ่ายทอดสดกันเอง ทีมใหญ่จะยิ่งทิ้งห่าง และทีมเล็กจะอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ กระนั้น บีจี ปทุม ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการถ่ายทอดสดในช่องของตัวเอง ถ้าสุดท้ายการเจรจาไม่บรรลุผล

สัมภาษณ์บอสปวิณ ภิรมณ์ภักดี ปี 2023 ตอนที่ 3
สัมภาษณ์บอสปวิณ ภิรมณ์ภักดี ปี 2023 ตอนที่ 3

reunion Rabbit girl

ในช่วงที่ฟุตบอลเริ่มบูมเมื่อราว 10 ปีก่อน บีจี ปทุม ถือว่าเป็นทีมแรกๆที่นำสาวสวยใส่หูกระต่ายมายืนเชียร์ทีมในทุกนัด กระทั่งกลายเป็นสัญลักษณ์ในชื่อ Rabbit girl และในช่วงหลังก็ได้มีการคัดเลือกเข้ามา แต่ในช่วง 2-3 ปีหลัง กลับไม่มี Rabbit girl เหมือนดังที่เป็นมา นั่นจึงทำให้แฟนบอลเข้ามาถาม และบอสปวิณ ได้ตอบกลับมาว่า สโมสรได้เล็งเห็นถึงประเด็นนี้ ทำให้ปีหน้าจะมีการ Reunion Rabbit girl โดยจะเรียก Rabbit girl ทุกชุด ตั้งแต่รุ่นแรกเมื่อปี 2009 เพื่อเข้ามาช่วยกันเชียร์บริเวณ south stand ฉะนั้นหากใครอยากเจอ Rabbit girl ในยุคบุกเบิก ก็สามารถมาเจอได้ที่สนามในฤดูกาลหน้า

ส่วน BG Man อาจจะเหลือเพียงตำนาน เพราะ 2 คน ที่เคยทำหน้าที่ ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในท้องที่จังหวัดปทุมธานีแล้ว ขณะที่มาสคอร์ต กฎการแข่งขันแจ้งว่าไม่สามารถลงมาในสนามได้ นั่นจึงทำให้บอสปวิณ ไม่มีความคิดจะนำกลับมาอีก

สัมภาษณ์บอสปวิณ ภิรมณ์ภักดี ปี 2023 ตอนที่ 3
สัมภาษณ์ บอสปวิณ ภิรมณ์ภักดี ปี 2023 ตอนที่ 3

ติดตาม ข่าวSport ในทุกสัปดาห์ได้ที่ tarutaofc.com

FB : Sport lover

Categories
Sport

ย้อนรอยลิขสิทธิ์บอลไทย จากติดลบสู่พันล้าน และจากพันล้านสู่ศูนย์บาท  

ลิขสิทธิ์บอลไทย ก่อนจะมีมูลค่าสูงส่งและกลับคืนสู่สามัญ

ถือเป็นกระแสที่ร้อนระอุและน่าตกใจในเวลาเดียวกัน สำหรับลิขสิทธิ์ถ่ายสดฟุตบอลไทยที่เคยสูงถึงพันล้านบาท แต่การบริหารของสมาคมฟุตบอลชุดนี้ มีแต่สาละวันเตี้ยลง กระทั่งมีการเรียกสโมสรสมาชิกไทยลีก 1 มาประชุมกันและแจ้งว่ามีผู้ประมูลเพียง 1 เจ้า โดยให้ราคาเพียง 50 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งนับจากนี้ต้องไปตามกันต่อว่าจะมีการแยกตัวออกมาตั้งบริษัทและบริหารกันเองหรือไม่ รวมถึงข่าวที่บอกว่าจริงๆแล้วมีการยื่นมา 300 ล้านบวกๆ แต่ที่เสนอไป 50 ล้านบาท ก็เพราะเกมการเมืองนั่นเอง กระนั้นในบทความนี้จะพาไปดูถึงวิวัฒนาการของ ลิขสิทธิ์บอลไทย ที่หลายคนยังไม่รู้ว่าเคยติดลบ ก่อนจะมีมูลค่าสูงส่งและกลับคืนสู่สามัญเฉกเช่นวันนี้

ปี 2539 – 2545 เป็นยุคเริ่มแรกของฟุตบอลไทยลีก ซึ่งตอนนั้นไม่มีมูลค่าทางการตลาด นั่นจึงทำให้สมาคมฟุตบอล ต้องออกเงินเพื่อซื้อเวลาของสถานีโทรทัศน์ในช่วง 4 โมงเย็น – 6 โมงเย็น สำหรับการถ่ายทอดสด กระทั่งปี 2545 ทรูวิชั่น อาสาเข้ามาช่วยถ่ายทอดสดแบบฟรีๆ เพื่อเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ของช่องทางดาวเทียม และหลังจากนั้นก็มีช่อง 11 เข้ามาช่วยถ่ายในบางคู่

กระแสบอลไทยเริ่มเฟื่องฟูอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะไม่ว่าจะทีมใหญ่หรือทีมตามต่างจังหวัด แฟนบอลต่างเข้ามาชมเกมจนเต็มความจุของสนาม ทำให้การขายลิขสิทธิ์ฟุตบอลไทยลีก เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2552 โดยสยามกีฬาจ่ายเงินให้สมาคมฟุตบอลเป็นมูลค่ากว่า 40 ล้านบาท / ปี กระทั่งปี 2554 ฟุตบอลไทยเติบโตต่อเนื่องแบบฉุดไม่อยู่ นั่นจึงทำให้ทรูวิชั่น เข้ามาประมูลและคว้าลิขสิทธิ์ด้วยวงเงินถึง 200 ล้านบาท / ปี ซึ่งมากกว่าเดิมถึง 5 เท่า

ลิขสิทธิ์บอลไทย ย้อนรอยจากติดลบสู่พันล้าน และกลับคืนสู่สามัญ
ลิขสิทธิ์บอลไทย ย้อนรอยจากติดลบสู่พันล้าน และกลับคืนสู่สามัญ

ปี 2557 ทรูวิชั่นที่เสียลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ไปให้กับ CTH จำเป็นต้องเดินหน้าเต็มกำลังเพื่อคว้าลิขสิทธิ์ฟุตบอลไทยลีกให้อยู่มือ นั่นจึงทำให้บริษัทยื่นซองประมูลให้กับสมาคมฟุตบอล เป็นมูลค่ากว่า 600 ล้านบาท / ปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิม 3 เท่า จากนั้น 3 ปีให้หลัง ก็ยังคงเป็น ทรูวิชั่น ที่คว้าลิขสิทธิ์ไปด้วยราคา 1,050 ล้าน / ปี ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงมากๆ

ปี 2564 ทั่วโลกเผชิญต่อวิกฤตโควิด-19 ทำให้ฟุตบอลต้องเลื่อนเตะ แฟนบอลเข้าไปชมในสนามไม่ได้ นั่นจึงทำให้ ทรูวิชั่น ขอลดมูลค่าที่จะประมูล ตรงข้ามกับ เซนส์ที่กล้าทุ่ม 1200 ล้านบาท / ปี และนั่นทำให้สมาคมฟุตบอลเลือกผู้ถือลิขสิทธิ์เจ้านี้ แต่เมื่อผ่านไปสักพักก็ขอถอนตัว เพราะรู้ชะตากรรมว่าจะต้องขาดทุน สุดท้าย AIS ได้ส้มหล่นในมูลค่า 300 ล้านบาท / ปี เท่านั้น

จากที่ไล่เรียงมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าสมาคมฟุตบอลชุดก่อนๆต้องใช้เวลาอยู่นาน กว่าจะขายลิขสิทธิ์จนเกิดมูลค่าขึ้นมา ขณะที่ตัวแปรอย่างทรูวิชั่น ถือเป็นการสำคัญที่ทำให้ลิขสิทธิ์ฟุตบอลไทย มีมูลค่าสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดทุกครั้งเมื่อมียื่นซองประมูล แต่การฉีกซองและหันเหไปเลือกบริษัทน้อยใหม่อย่างเซนส์ ถือเป็นจุดหักเหที่ทำให้ลิขสิทธิ์ฟุตบอลไทย มีมูลค่าต่ำลงแบบน่าใจหาย และที่น่าใจหายกว่า คือมูลค่าในตอนนี้มันเทียบเท่ากับช่วงที่ฟุตบอลไทยขายลิขสิทธิ์ครั้งแรก  

ลิขสิทธิ์บอลไทย ย้อนรอยจากติดลบสู่พันล้าน และกลับคืนสู่สามัญ
ลิขสิทธิ์บอลไทยย้อนรอยจากติดลบสู่พันล้าน และกลับคืนสู่สามัญ

ติดตาม ข่าวSport ในทุกสัปดาห์ได้ที่ tarutaofc.com

FB : Sport lover